ANTIG 18
หน้าร้าน ©ANTIG 18 : ไปที่หน้า GOOGLE และพิมพ์คำว่า ANTIG ตามด้วยตัวเลข เช่น ANTIG 1 หรือ ANTIG 16 ท่านจะพบร้านค้าของเรา



ชื่อวัตถุมงคล : 149 แม่นางตะเคียนเสาร้องไห้ วัดสูง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
ประเภท : เปิดให้บูชา
: รายละเอียด :

แม่นางตะเคียนเสาร้องไห้ วัดสูง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

แม่นางตะเคียน วัดสูง
เรื่อง และภาพประกอบโดย พุฒิวงศ์ บุษบวรรษ

คนโบราณจะตั้งชื่อท้องถิ่นใดย่อมมีที่มา อย่างอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี แหล่งข้าวสารพันธุ์ดี ราคาย่อมเยาว์ มีที่มาจากเรื่องเหลือเชื่อ ผมได้คัดลอกมาจากเว็บไซท์หนึ่งเห็นว่าเป็นบันทึกหน้าหนึ่ง ของไทย ที่มาของอำเภอเสาร้องไห้ ซึ่งเชื่อว่าเสาตะเคียนนี้เป็นเสาที่คัดเลือกให้ไปใช้เป็นเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ แต่ด้วยระยะทางที่ไกลกว่าเสาต้นอื่น ทำให้ไปถึงล่าช้า อีกทั้งปลายเสาตะเคียนคดงอเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้รับการคัดเลือกนำไปใช้ เสาจึงลอยทวนน้ำมาจมลง อยู่ที่จังหวัดสระบุรี ต่อมามีผู้ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องไห้อยู่บ่อย จนเป็นที่มาของชื่ออำเภอเสาร้องไห้ หรือเสาไห้ในปัจจุบัน

บ้านเสาไห้ปัจจุบันนี้ แต่เดิมชื่อว่า บ้านไผ่ล้อมน้อย เป็นชุมชนที่มีมานานแล้ว เพราะในอดีตถิ่นนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองสระบุรีมาก่อน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานวา เมืองสระบุรีเห็นจะตั้งราวปี พ.ศ. ๒๐๙๒ ในรัชสมัยของ พระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๐๙๙)

บ้านไผ่ล้อมน้อยนี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านเสาไห้ เหตุก็คือ มีเสาต้นหนึ่งจมอยู่ในลำน้ำป่าสัก เยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ ทุกวันนี้เป็นเวลานาน สมัยเมื่อยังไม่มีเขื่อนกั้นน้ำท่าหลวง ฤดูแล้งน้ำในแม่ป่าสักจะแห้งขอดสามารถเดินข้ามได้ ก็ยังพบเสาต้นนี้อยู่ และเล่าลือกันว่าในฤดูน้ำหลาก บางคืนจะมีหญิงปรากฏตัวบนผิวน้ำร้องไห้โหยหวน เชื่อกันว่านั่นคือเสียงนางไม้ ขึ้นมาร้องไห้ กิตติศัพท์เรื่องนี้เล่าลือกันมาตลอด ต่อมาเล่ากันว่านางไม้ ได้ไปเข้าทรงผู้อื่นหลายครั้งว่าตนอยากขึ้นจากน้ำ ประชาชนจึงร้องขอให้ นายเผ่า จันทร์ประสิทธิ์ เป็นผู้นำในการนำเสาต้นนี้ขึ้น ทั้งต้องการพิสูจน์ว่าเสาที่เล่าลือกันมาช้านานนั้นมีจริงหรือไม่ ในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๐๑ การอัญเชิญเสาแม่นางตะเคียน ได้เริ่มขึ้นด้วยพิธีเข้าทรง เจ้าที่มาเข้าทรงวันนั้นคือเจ้าพ่อภูเขียว พร้อมกันนั้นได้เชิญแม่นางตะเคียนประจำเสาต้นนี้ มาเข้าทรงด้วยเพื่อบอกตำแหน่งของเสาที่จมอยู่ เพราะปัญหาคือไม่ทราบว่าเสาต้นนี้จมอยู่ตรงไหน ไม่มีใครรู้แน่ชัด และเมื่อพบตำแหน่งของเสาแล้วผู้คนที่อยู่บนฝั่งก็โห่ร้องด้วยดีใจ ท้องฟ้าที่กำลังมีแดดจ้ากลับมืดครึ้มทันที และฟ้าผ่าลงมาเป็นประกายสีเขียว ฟ้าคะนองดั่งฝนจะเทลงมาอย่างหนัก พื้นน้ำมีฝ้าลอยขึ้นมาช่างเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก เช้าวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๐๑ มีประชาชนผู้สนใจจำนวนมากมาดูการอัญเชิญเสาขึ้นจากน้ำ เวลา ๑๑.๐๐ น. ปลายเสาเริ่มเคลื่อนขึ้นจากดิน ผู้คนโห่ร้องสนั่นหวั่นไหวด้วยความปิติยินดี เมื่อปลายเสาเริ่มโผล่พ้นผิวน้ำ ได้มีน้ำมันลอย เป็นฝ้าขึ้นผิวน้ำ เป็นสีเขียวคล้ำแผ่กว้างออกไปเป็นอัศจรรย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อนำเสาขึ้นมาไว้ใกล้ตลิ่งแล้ว ก็มีประชาชนจำนวนมากมาปิดทองสักการะบูชา เป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าเสาต้นนี้เป็นไม้ตะเคียนทอง ยาว ๑๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๗๕ เมตร ปลายคดเล็กน้อย เข้าใจว่าเดิมคงเป็นท่อนไม้ที่ใหญ่ยาวมาก แต่เนื่องจากจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน จึงได้ผุกร่อนเหลือเพียงแก่น และแตกสะเก็ดโดยรอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งคือ วันที่นำเสาต้นนี้ขึ้นจากน้ำ ก็เป็นเวลาใกล้เคียงกับวันที่ทำพีธียกเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ วันนั้นตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๑ (วันยกเสาเอกกรุงเทพฯ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕)

วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๐๑ เป็นวันที่เชิญเสาไปประดิษฐานที่วัดสูง เวลา ๙.๐๐ น. เริ่มพิธีเคลื่อนเสาไปสู่วัดสูง โดยตั้งศาลสูงเพียงตา มีหัวหมูซ้ายขวา บายศรี ๓ ชั้น ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกที่เสาแล้วใช้เชือกผูกแพที่รับเสาให้ประชาชนดึง เมื่อได้ฤกษ์ พระสงฆ์ ๙ รูปเจริญชัยมงคลคาถา ประชาชนที่อยู่บนฝั่งหน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ ก็ดึงเชือกแพลูกบวบให้เคลื่อนไป ทางทิศตะวันออก มีเรือแตรวงนำขบวน มีเรือต่างๆ ร่วมขบวนอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เคลื่อนแพเสามาถึงท่าถนนข้างโรงสีเสาไห้แล้ว ก็ใช้เกวียน ๔ เล่ม ผูกเสาไว้ใต้เกวียนแล้วมัดยอดเสาให้พ้นดินเล็กน้อย ผูกด้วยเชือกโยงเรือขนาดใหญ่มัดจากเกวียนไปให้ถึงประชาชนเสาก็เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยดี เมื่อขบวนมาถึงใกล้ศาลเจ้าพ่อซึ่งอยู่ทางแยกเข้าวัดสูงนั้น แม้จะดึงฉุดอย่างไรเกวียนก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ทั้งที่ถนนราบเรียบ จึงได้พยายามแก้ไขจนเสียเวลาไปถึง ๒ ชั่วโมง นายเผ่า จันทร์ประสิทธิ์ ระลึกได้ว่า เมื่อนางไม้เริ่มเข้าทรงครั้งแรกนั้น ได้บอกเพียงว่า ใช้สายสิญจน์ให้ประชาชนดึงแทนเชือก จึงได้เปลี่ยนมาใช้ด้ายสายสิญจน์แทนเชือกใหญ่ ขบวนเกวียนก็สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างง่ายดายเพียง ๑๐ นาทีก็ถึงวัดสูง เมื่อเวลา ๑๔.๓๐ น. บังเกิดความประหลาดใจโดยทั่วกัน จากนั้นก็นำเสาประดิษฐานไว้ที่ศาลชั่วคราว ในวันนั้นมีประชาชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ประมาณสามหมื่นคน นับเป็นวันประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของชาวอำเภอเสาไห้ต่อมาจึงได้สร้างศาลถาวรขึ้นที่หน้าพระอุโบสถ เป็นศาลกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๕ เมตร มีมุขออกด้านตะวันออก พื้นคอนกรีต มีฐานก่ออิฐสูงรองรับเสาตะเคียน ต่อมาเมื่อวัดสูงได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น จึงได้ดัดแปลงศาลาการเปรียญหลังเดิมเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม และอัญเชิญเสาแม่นางตะเคียนมาประดิษฐานที่ศาลหลังใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาจนถึงทุกวันนี้

แม่นางตะเคียน วัดสูง อำเภอเสาไห้ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอำเภอเสาไห้ และยังคงได้รับการสักการะจากผู้คนที่เชื่อถือ ศรัทธามาโดยตลอด เทศบาลตำบลเสาไห้ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมงานประเพณีอาบน้ำแม่นางตะเคียน เนื่องในเทศกาลสงกรานต์วัดสูงเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบสานงานประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

นางตะเคียน เป็นพฤษเทวดา ตามตำนานพื้นบ้านของไทย เป็นเทพสตรี สิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียน

บริเวณผืนป่าที่ผีนางตะเคียนสิงสู่อยู่จะสะอาดสะอ้านเหมือนมีคนมาปัดกวาดอยู่เสมอๆ ก็คงเหมือนกับคน อยู่บ้านต้องออกมาปัดกวาด หน้าบ้านตัวเองให้สะอาดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

นางตะเคียนมักมีรูปร่างหน้าตาสะสวย หมดจดงดงาม ผมยาว ห่มสไบ ใส่ผ้าถุง บางที่ก็ว่าแต่งตัวเหมือนสาวบ้านป่าทั่วๆ ไป ผีนางตะเคียนมักจะเป็นจำพวกหวงที่อยู่ และจะดุร้ายมากหากใครคิดจะรุกรานที่อยู่ของตน

เนื่องจากต้นตะเคียน มีนางตะเคียนสิงสู่อยู่ การจะนำเอาต้นตะเคียนมาขุดเป็นเรือ (เรือสมัยก่อนใช้วิธีขุดขึ้นจากต้นไม้ทั้งต้น) หรือนำไม้ตะเคียนมาสร้างบ้าน จำเป็นจะต้องทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตจากนางตะเคียนก่อน ทั้งนี้ เมื่อต้นตะเคียนที่ถูกนำมาแปรสภาพเป็นยานพาหนะ หรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว นางตะเคียนที่สิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียนนั้น ก็จะเปลี่ยนแปลงสถานะตามไปด้วย เช่น ถ้าเป็นเรือ นางตะเคียนก็จะกลายเป็นแม่ย่านางเรือ เป็นต้น

บูชา : 800 บาท
ข้อมูลการติดต่อ : พันธ์ทิพย์ วัยนิพลี
093-2480159 ang7kong@gmail.com
จำนวนผู้เปิดชม : 1722 ครั้ง
โพสเมื่อ : 2012-04-24 10:09:37
ปรับปรุงล่าสุด : 2012-04-24 10:09:37
Share ข้อมูล :
สอบถามเกี่ยวกับวัตถุมงคลนี้
ชื่อผู้โพส
E-mail
โทรศัพท์
ข้อความ
Code ยืนยันการโพสโค้ดยืนยันการโพส
ชื่อร้าน : ANTIG 18
โดย : พันธ์ทิพย์ วัยนิพลี
ที่อยู่ติดต่อ : 491 หมู่ที่ 7 ต.สมอเเข อ.เมือง จ. พิษณุโลก 65000
หมายเลขโทรศัพท์ : 093-2480159
E-Mail ติดต่อ : ang7kong@gmail.com
URL ของร้าน : http://www.antigpra.com/shop/antigeighteen/
 ธนาคารกสิกรไทย :   สาขา ถนนสายเอเซีย  
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์/สะสมทรัพย์
ชื่อบัญชี : นายอุดร เหลืองวิชชเจริญ  
หมายเลขบัญชี : 4032253429