>> คำแปลนครัฏฐาสูตร เราทั้งหลายจงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลายดังพระอานันทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลาย แม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้าจำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทรในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์บำเพ็ญทุกข์กิริยา ชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ นวโลกุตตรธรรม ๙ดังนี้แล้ว กระทำปริตร ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลีเทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่งพระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์และข้าวแพงในเมืองเวสาลีให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลายจงสวดปริตรอันนั้นเทอญ ในสมัยกาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตื่นขึ้นแล้วจากสีหไสยาสน์ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี แล้วพระองค์ก็เข้าซึ่งผลสมาบัติอันประกอบไปด้วยพระมหากรุณา เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากเพื่อจะให้เป็นสุขแก่มหาชน เป็นสุขแก่สัตว์โลกเพื่อให้เจริญและเป็นสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลครั้งนั้นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มีพระพุทธฎีกาตรัสเรียกพระอานนท์ว่าท่านจงเรียนพระปริตรนี้ ชื่อว่า นะคะรัฏฐานะปริตรนี้ และเหตุพระปริตรนี้จะให้ตั้งอยู่เป็นสุขแห่งพระนคร ท่านจงฟังจงทรงไว้ ซึ่งนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ท่านจงทรงไว้ในใจ ซึ่งนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ อันพระตถาคตตรัสไว้แล้วเพื่อจะให้บังเกิดซึ่งสิริสวัสดิ์ความเจริญแก่มนุษย์ทั้งหลาย จักบังเกิดมีแก่มนุษย์ทั้งหลายด้วยนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ พระตถาคตจักปลดเปลื้อง ซึ่งสัตว์ทั้งหลายเพื่อจะให้หายเสียซึ่งความกลัว และสะดุ้งตกใจ จากกุมภัณฑ์ยักษ์ทั้งหลายพระตถาคตจักปลดเปลื้องเสีย ซึ่งมนุษย์ทั้งหลาย จากโจรภัย จากภัยแห่งเพลิงจากภัยแห่งน้ำ จากภัยอันเดินมา จากภัยอันเดินไป จากยักษ์ทั้งหลายที่พึงกลัวจากภูตพรายที่พึงกลัว จากปีศาจ จากกุมภัณฑ์ จากนาคร้ายที่พึงกลัว จากครุฑร้ายจากคนธรรพ์ร้ายที่พึงกลัว จากไข้ห่า จากภัยทั้งปวง โรคหืด ไข้จุกเสียด เมื่อยขบไข้หวัด โรคหอบ ไข้ป่วง ไข้เกลียวดำ ให้พ้นพรากออกไปพระตถาคตเจ้าจะให้มนุษย์พ้นจากสิ่งไม่ดีทั้งปวงด้วยประการนี้พระอานนท์จงมาตักน้ำในจัมเปยยะนที แต่พอด้วยบาตรของพระตถาคต อันท้าวมหาราชทั้ง ๔ได้ถวายไว้ และเข้าไปในเมืองเวสาลี จะสำแดงเดชแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณเพื่อให้มนุษย์พ้นจากโรคภัยทั้งปวง อันว่านะคะรัฏฐานะปริตรนี้คือการออกนามสาวกทั้งหลาย ๘๐ พระองค์พระปริตรนี้จักเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลายอันเป็นล้านโยชน์ __________________ พุทธังฤทธิ ธัมมังฤทธิ สังฆังฤทธิ ชยะมังคลัง เอหิพุทธัง เอหิธัมมัง เอหิสังฆัง เอหิจิตตัง มะมะเอหิ พระรายการนี้ให้เช่าบูชาแล้ว ท่านพบพระองค์นี้ที่ร้าน Antig 10 รายการที่ 142 ต้องการดูรายการพระเครื่องอื่นๆ คลิ๊กที่ คำว่าหน้าร้าน ด้านบน" />
ANTIG 10
หน้าร้าน ©ANTIG 10 : พิมพ์คำว่า ANTIG ตามด้วยตัวเลข เช่น ANTIG 1 หรือ ANTIG 18 , ANTIG 102 ท่านจะพบกับร้านค้าของเรา antigten


ชื่อวัตถุมงคล : 142 พระพุทธปาง นครัฏฐาสูตร
ประเภท : บูชาไปแล้ว
: รายละเอียด :

คาถาบูชา พระพุทธปาง นครัฏฐาสูตร
บทสวดนี้เป็นบทสวดตอนสืบชะตาหลักเมืองกรุงเทพครับ ไม่ค่อยได้เห็นใครสวดบ่อย

นครัฏฐาสูตร
ปะณิธานะโต ปัฏฐายะตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะมะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิ มัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนังปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะโลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิต๎วา เวสาลิยาตีสุ ปาการันตะเรสุติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัส๎มา อานันทัตเถโร วิยะการุญญะจิตตังอุปัฏฐะเปต๎วา ฯ
โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาณัม ปะฏิคคัณหันติยัญจะเวสาลิยัมปุเร โรคามะนุสสะทุพภิกขะ สัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิปะริตตัน ตัมภะณามะ เห ฯ
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา เวสาลิยัง วิหะระติมะหาวะเน กูฏาคาระ สาลายัง เตนะโขปะนะ สะมะเยนะ ภะคะวา ตัสสายะ รัตติยาปัจจุสะมะยัง ปัจจุฏฐายะ มะหากะรุณา ผะละสะมาปัตติง สะมาปันโน โหติ พะหุชะ นะหิตายะพะหุชะ นะสุขายะ โลกานุ กัมปายะ อัตถายะ หิตายะ สุขายะ เทวะมะนุสสานัง อะถะโขภะคะวา อายัส๎มันตัง อานันทัง อามันเตสิ ปัสเสยยานันทะ มะนุสสานัง อะมะนุสสานังวิเหฐิยานัง โสตถิยานัง ฯ
อุคคัณหาหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง ธาเรหิ อานันทะอิมัง นะคะรัฏฐานัง วาเจหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง มะนะสิกะโรหิ อานันทะ อิมังนะคะรัฏฐานัง ปะริยาปุณาหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง นะมะ ภาสิตัง ยะถา จะปะนาหัง สารัชชัง กุมภัณฑานัง นิสสายะ ราชาภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ โจระภะเยนะปะริมุญจิสสามิ อัคคิภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ อุทะกะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิอาวัตตะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ วิวัตตะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ อาวัตตะวิวัตตะภะเยนะปะริมุญจิสสามิ ภูตะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ ปิสาจะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิยักขะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ กุมภัณฑะ ภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามินาคะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ สุปัณณะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิคันธัพพะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ โตตะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ สัพพะภะเยนะปะริมุญจิสสามิ ฯ
กาโสสาโส เสนะกัง โตตะกัง วิโตตะกัง รัชชะกัง ปะรัชชะกังกาละวะกัง สัพพะโตตะ วิโยเคนะ ปะริมุญจิสสามิ อัคคะหา ปะริมุญจิสสามิ ปะริคคะหาปะริมุญจิสสามิ อัคคะหา ปะริคคะหา ปะริมุญจิสสามิ เอหิ ตะวังอานันทัง จะตูหิมะหาราเชหิ ทินนัง ปัจจัคคัง เสละมะณีมะยัง ปัตตังกาละจัมเปยยันทิยา โปกขะระณียาอุทะกัง คะเหตตะวา เวสาลิยัง ปะวิสิตตะวา สัพพะโรคะวินาสะ นัฏฐายะ สิญจามิ อิมังนะคะรัฏฐานัง พุทธะ คุณะปะริธิปะนัฏฐายะ สิญจามิ อิมัง นะคะรัฏฐานัง ธัมมะคุณะปะริธิปะนัฏฐายะ สิญจามิ อิมัง นะคะรัฏฐานัง สังฆะ คุณะปะริธิปะนัฏฐายะ สิญจามิอิมัง นะคะรัฏฐานัง อายัสมันโต อะสีติ สาวะกา ทะโยติ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิมัง อะนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะ จะ พุทโธ อะตุลละโย ธัมโมจะ สังโฆ อะตุลละโย มะหานุภาโว เอเต ปะสัง สัตถา อะนุกัม ปะยันตุ สุวัตถิวุฑฒิมะนะโต โหตุ นิจจัง เอเต ปาเลตุปาณาติ สุขิโน โหนตุ ปาณิ โนติ ฯ
โกณฑัญโญสาริปุตโต จะ โมคคัลลาโน จะ กัสสะโป กุมาโร อุรุเวโล จะ คะยานะทิ จะ กัสสะโปปาลัตโถ รัฏฐะปาโล จะ นาโค อังคุลิมาละโก สุภูโต ภารัททะวาโช จะ ปุณโณ วักกะลิอัสสะชิ ภัททะชิ จะ อุปาลี จะ ฉิมพะลี จะ คะวัมปะติ อุทายี กาฬุทายี จะ โลฬุทายี จะถาวะรี สะมิทธี จะ ภะวังกะโร จาปิ สุภัทโท สุคะโตปิ จะ สาคะโต จะ สุทัตโต จะโตทัตโต นาคะทัตตะโก อุคคาเรโว จะ เรโว จะ กังขาเรโว จะ ยัตติโก สุนันโทคิริมานันโท นันทัตเถโร อุปะนันโท อานันโท นันทะกัปโป จะ วะยะกัปโป จะ ภัททะคุมะหานาโม โลหะนาโม สังฆาโม วิชิโตปิ จะ ปุลิโน ธะนิยัตเถโร ทัพโภ จะ อุปะเสนะโกสุปาโกปิ จะ อุตตะโร สุขัตเถโร อะนุรุทโธ ภัททิยัตเถโร นุโชติโย กิมิโล วิมะโล พาหุสุพาหุ จูฬะปันถะโก มะหาปันถะโก จะ สุมะโน ปะราธะโก โมฆะราชะโก โสณะกัปโป จะ โสณะโกโสณะกัณโณ จะ โสโณ จะ กัจจาโน วังคิโสปิ จะ พากุโล ราหุลัตเถโร จะ อะนาคาโร จะกัสสะโป วัปปัตเถโร จะ ชะฏิโล อิจเจเต อะสีติสาวะกาทะโยติ เตสัง สัจเจนะสีเลนะขันติ เมตตาพะเลนะ จะ เตปิมัง อะนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะ จะ ชะลันตาอัคคิขันธาวะ ปะรินิพพันติ อะนาสะวาสะทา รักขันตุ มังสัพเพ อัมเห รักขันตุ สัพพะทาฯ
เมตเตยโย อุตตะโร ราโม ปัสเสโน โกสะโลภิภู ทีคะชังคี จะ โสโน จะ สุภูโตเทยยะพราหมมะโณ นาฬาคิริ ปาลิเลโย โพธิสัตตา อิเมหิ ทะสะ โพธิสัตตาทะสุตตะระปัญจะสะตา ปูเรนตา พุทธะ การะเก ปาปุณิสสันติ อานาคะเต อะนันตังโพธิสัมภารัง กัตตะวา กัปเป อะนันทะเก สัพพานิ ทะนานิ เทนติ ปุตตะ ทานะราชิกานิ จะอานันทะ จักกะวาเลสุ อินทา เทวา จะ พรัหมมุโน มะนุสสะ ติรัจฉานานัง สัพเพ สานังหิเตสิโน เอเตนะ สัมภาเรนะ ระเตเชนะ สัพเพสัตตา สุขังคะตา อัญญะมัญญัง มะเหเทนตุอัญญะมัญญัง ปิยังวะธา สะมันตา จักกะวาเลสุ อะนันเต อัปปะมาณะเก สัพเพเทวา สะปุริสาสุขี ภะวันตุ สัพพะทา ฯ
พุทธัง เสฏฐัง ติกขุนทริยัง ธัมมัง คัมภีรัง พุทธัสสังสังฆัญจะ ปุญญักเขตตัง จะ วันเทหัง สักกัจจัง นิจจัง ปัญญา มะหาธัมมะธะรา มะหาอิทธิมะหายะสา อะสีติ จะ มะหาเถรา สัตตานัง หิตะการะกา ชะลันตา สีละเตเชนะ วิราวิโรจะเรสิยาติ เอเตหิ จะ อัญเญหิ จะ พุทธะสาวะเกหิ ยาวะเทวะวะเน มะหาวะเน รักขันตุสุรักขันตุ ยาวะเทวะฆะเร มะหาฆะเร รักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะเทวะปะเถ มะหาปะเถรักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะเทวะนัคฆะเร มะหานัคฆะเร รักขันตุ สุรักขันตุยาวะเทวะสะมันตา สัฏฐิโยชะนะ สะตะ สะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุสุรักขันตุ ยาวะเทวะสะมันตา สัฏฐิโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละ ปะริกเขตเตรักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะเทวะสะมันตา สัฏฐิโยชะนะ สะตะสะหัสสานิสังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ อิทะมะโว จะ ภะคะวา อัตตะมะโน อายัส๎มาอานันโท ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทีติ ฯfficeffice" />>>
คำแปลนครัฏฐาสูตร
เราทั้งหลายจงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลายดังพระอานันทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลาย แม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้าจำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทรในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์บำเพ็ญทุกข์กิริยา ชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ นวโลกุตตรธรรม ๙ดังนี้แล้ว กระทำปริตร ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลีเทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่งพระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์และข้าวแพงในเมืองเวสาลีให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลายจงสวดปริตรอันนั้นเทอญ
ในสมัยกาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตื่นขึ้นแล้วจากสีหไสยาสน์ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี แล้วพระองค์ก็เข้าซึ่งผลสมาบัติอันประกอบไปด้วยพระมหากรุณา เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากเพื่อจะให้เป็นสุขแก่มหาชน เป็นสุขแก่สัตว์โลกเพื่อให้เจริญและเป็นสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลครั้งนั้นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มีพระพุทธฎีกาตรัสเรียกพระอานนท์ว่าท่านจงเรียนพระปริตรนี้ ชื่อว่า นะคะรัฏฐานะปริตรนี้ และเหตุพระปริตรนี้จะให้ตั้งอยู่เป็นสุขแห่งพระนคร ท่านจงฟังจงทรงไว้ ซึ่งนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ท่านจงทรงไว้ในใจ ซึ่งนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ อันพระตถาคตตรัสไว้แล้วเพื่อจะให้บังเกิดซึ่งสิริสวัสดิ์ความเจริญแก่มนุษย์ทั้งหลาย จักบังเกิดมีแก่มนุษย์ทั้งหลายด้วยนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ พระตถาคตจักปลดเปลื้อง ซึ่งสัตว์ทั้งหลายเพื่อจะให้หายเสียซึ่งความกลัว และสะดุ้งตกใจ จากกุมภัณฑ์ยักษ์ทั้งหลายพระตถาคตจักปลดเปลื้องเสีย ซึ่งมนุษย์ทั้งหลาย จากโจรภัย จากภัยแห่งเพลิงจากภัยแห่งน้ำ จากภัยอันเดินมา จากภัยอันเดินไป จากยักษ์ทั้งหลายที่พึงกลัวจากภูตพรายที่พึงกลัว จากปีศาจ จากกุมภัณฑ์ จากนาคร้ายที่พึงกลัว จากครุฑร้ายจากคนธรรพ์ร้ายที่พึงกลัว จากไข้ห่า จากภัยทั้งปวง โรคหืด ไข้จุกเสียด เมื่อยขบไข้หวัด โรคหอบ ไข้ป่วง ไข้เกลียวดำ ให้พ้นพรากออกไปพระตถาคตเจ้าจะให้มนุษย์พ้นจากสิ่งไม่ดีทั้งปวงด้วยประการนี้พระอานนท์จงมาตักน้ำในจัมเปยยะนที แต่พอด้วยบาตรของพระตถาคต อันท้าวมหาราชทั้ง ๔ได้ถวายไว้ และเข้าไปในเมืองเวสาลี จะสำแดงเดชแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณเพื่อให้มนุษย์พ้นจากโรคภัยทั้งปวง อันว่านะคะรัฏฐานะปริตรนี้คือการออกนามสาวกทั้งหลาย ๘๐ พระองค์พระปริตรนี้จักเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลายอันเป็นล้านโยชน์
__________________
พุทธังฤทธิ ธัมมังฤทธิ สังฆังฤทธิ ชยะมังคลัง
เอหิพุทธัง เอหิธัมมัง เอหิสังฆัง เอหิจิตตัง มะมะเอหิ


พระรายการนี้ให้เช่าบูชาแล้ว

ท่านพบพระองค์นี้ที่ร้าน Antig 10 รายการที่ 142

ต้องการดูรายการพระเครื่องอื่นๆ คลิ๊กที่ คำว่าหน้าร้าน ด้านบน

ข้อมูลการติดต่อ : พันธ์ทิพย์ วัยนิพลี
093-2480159 ang7kong@gmail.com
จำนวนผู้เปิดชม : 1932 ครั้ง
โพสเมื่อ : 2012-03-07 21:19:53
ปรับปรุงล่าสุด : 2021-05-15 05:52:41
Share ข้อมูล :
สอบถามเกี่ยวกับวัตถุมงคลนี้
ชื่อผู้โพส
E-mail
โทรศัพท์
ข้อความ
Code ยืนยันการโพสโค้ดยืนยันการโพส
ชื่อร้าน : ANTIG 10
โดย : พันธ์ทิพย์ วัยนิพลี
ที่อยู่ติดต่อ : 491 หมู่ที่ 7 ต.สมอเเข อ.เมือง จ. พิษณุโลก 65000
หมายเลขโทรศัพท์ : 093-2480159
E-Mail ติดต่อ : ang7kong@gmail.com
URL ของร้าน : http://www.antigpra.com/shop/antigten/
 ธนาคารกสิกรไทย :   สาขา ถนนสายเอเซีย  
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์/สะสมทรัพย์
ชื่อบัญชี : นายอุดร เหลืองวิชชเจริญ  
หมายเลขบัญชี : 4032253429