ANTIG 7
หน้าร้าน ©ANTIG 7 : พิมพ์คำว่า ANTIG ตามด้วยตัวเลข เช่น ANTIG 1 หรือ ANTIG 18 , ANTIG 102 ท่านจะพบกับร้านค้าของเรา



ชื่อวัตถุมงคล : 101 พระพุทธชินราช หลัง หลงพ่อคล้าย สร้างปี 2519 หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ปลุกเสก
ประเภท : เปิดให้บูชา
: รายละเอียด :

ประวัติพระนิพันธรรมาจารย์
พระนิพันธรรมาจารย์(คล้าย จันทโชโต) เป็นบุตรของขุนขจร คชสาร (รอด อนุวัตร) และนางอ่อง เกิดที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลพนมรอก อำเภอพนมรอก (สมัยนั้นอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านพนมรอก) จังหวัดนครสวรรค์ ณ วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๙ ปี ฉลู ตรงกับวันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๒๐ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา เดียวกัน ๘ คน คือ
๑. นายห่วง อนุวัตร
๒. นางบัวกลีบ พูนเกษม
๓. นายปริก อนุวัตร
๔. นางบัวจีบ คำประกอบ
๕. พระนิพันธรรมาจารย์
๖. นางลิ้นจี่ นุ่มมีศรี
๗. นางทองไทย ศรีคำขลิบ
๘. นางจันกลิ่น บุญกล่อม
เมื่อพระคุณท่านมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี จึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระศาสนา ณ พัทธสีมาวัดพนมรอก พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยมีพระอาจารย์ภู่เป็นองค์อุปัชฌายะ พระอาจารย์เงิน วัดมะปรางค์ ท่าน้ำอ้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เทศ วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในพรรษาแรกนี้พระคุณท่านได้อยู่จำพรรษา ศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีและปริยัติธรรมกับพระปลัดห่วงที่วัดพนมรอก
พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรมและภาษาบาลีที่วัดทุ่งแก้วจังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้จำพรราและศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดหนองโพ อำเภอพยุหะคีรี
พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้จำพรรษาและศึกษาพระบาลีปริยัติที่จอมคีรีนาคพรต อำเภอเมืองนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้กลับมาจำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสวัดพนมรอกตลอดมา ๔๖ พรรษาจนถึงธิการและสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพนมรอกองค์แรก(ปัจจุบันเป็นอำเภอท่าตะโก)และ
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพนมรอก ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน นามว่า “ พระครูคล้าย”
พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปัชฌยะ เมื่อพรรษา ๑๖
พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร นามว่า “ พระครูนิพันธรรมครุต”
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามัคยาราม อำเภอท่าตะโก
พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้เลื่อนเป็นพระครูชั้นเอก
พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ พระนิพันธรรมาจารย์

ท่านเจ้าคุณนิพันธรรมาจารย์ ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคตับพิการ ณ วัดสามัคยาราม อำเภอท่าตะโก
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ เวลา ๒๐.๐๐ น. ด้วยอาการสงบท่ามกลางญาติ หลาน ศิษยานุศิษย์โดยพร้อมเพรียง คำนวณอายุได้ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐

ประวัติต้นตระกูลเดิมของพระนิพันธรรมาจารย์
ท่านเจ้าคุณนิพันธรรมาจารย์ สืบเชื่อสายดั้งเดิมจากปู่และย่า เป็นชาวบ้านดอนคา (สมัยนั้นไม่มีอำเภอ) บ้านดอนคาเป็นบ้านเก่าเมืองแก่มีผู้คนพลเมืองหนาแน่นกว่าในสมัยนี้ ยังมีซากเมืองปรักหักพังเหลือให้เห็นเป็นประจักษ์อยู่บ้าง ส่วนบรรพบุรุษของตาและยายนั้นเป็นชาวหนองบัว หนองกลีบ และชาวพิจิตร
สกุลทางมารดา
เดิมในรัชชสมัยของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ คุณพระพิจิตรเป็นเจ้าเมืองครองเมืองพิจิตร ในขณะนั้นมีบุตรหลายคน คนหนึ่งเมื่อเจริญวัยขึ้นได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนพิพิธ แล้วต่อมาได้เลือนเป็นหลวงพล พระพิจิตรได้แต่งตั้งให้หลวงพลฯ ผู้บุตรไปครองเมืองเล็กเมืองน้อยในแขวงเมืองภูมิพาราธาร ซึ่งรวมวังสำโรง หนองบัว หนองกลับ วังพรม และเมืองอื่นๆ ใกล้เคียง ต่างอยู่ในอาณาเขตต์ปกครองของหลวงพลฯ ทั้งสิ้น หลวงพลฯ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอากรหลวงเก็บส่วย ภาษีส่งพระคลังหลวงกรุงเทพฯ หลวงพลฯ มีภรรยาทั้งสิ้น ๗ คนด้วยกัน แต่ละคนมีบุตรด้วยกัน ๑ คนบ้าง ๒-๓ คนบ้าง ภรรยาคนหนึ่งเป็นชาวหนองหนองบัวชื่อเหมือน เหมือนได้มีบุตรกับหลวงพลฯ คนหนึ่ง เป็นหญิงชื่ออ่อง ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ให้กำเนิดท่านเจ้าคุณนิพันธรรมาจารย์ เหมือนมีพี่น้องท้องเดียวกันหลายคน แต่ละคนต่างก็มีรกรากสืบเชื้อสายอยู่ในบ้านหนองบัว หนองกลับ ห้วยร่วม เป็นจำนวนมาก น้องของเหมือนคนหนึ่งได้เป็นต้นตระกูลของท่านเจ้าคุณเทพสิทธินายก วัดนครสวรรค์ เจ้าคณะภาค ๖ เหมือนมีพี่น้องอีกคนหนึ่งเป็นชาวบ้านวังโพรงได้มีบุตรกับหลวงพลฯ คนหนึ่งชื่อวอน วอนผู้นี้ต่อมาได้มีบุตรชายเป็นกำนันตำบลพนมรอก ชื่อกำนันมี แก้วพิพิธ เป็นบุตรชายของนายวอน คนอื่นๆ ยังคงมีรกรากสืบเชื้อสายอยู่ในบ้านวังสำโรง วังพรม และตำบลใกล้เคียงอีกมากหลาย
เหมือนมีน้องสาวคนหนึ่งชื่อ กริม ได้แต่งงานอยู่บ้านหนองบัว กริมผู้นี้ต่อมาได้มีบุตรชื่อง่วน ง่วนเป็นมารดาของกำนันอุปถัมป์ ปิ่นวัฒนะ(พะยอม ปิ่นวัฒนะ) กำนันตำบลวังใหญ่ขณะนั้น
ตามประวัติเล่าว่า คุณหลวงพลผู้นี้เป็นคนเอาการเอางานจนเกินขอบเขต ทั้งเป็นคนมีอารมณ์ดุร้าย เกรี้ยวกราดเป็นสำคัญ จนกระทั่งภรรยาทั้ง ๗ คน และบริวารทั้งหลายต่างอิดหนาระใจกันเต็มประดา ฉะนั้นครั้นต่อมาเมื่อคราวหลวงพล ฯ ได้นำเงินส่วยภาษีอากรไปส่งพระคลังหลวงที่กรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น ทางหลังก็เกิดเหตุ ภรรยาทั้ง ๗ ต่างอพยพหนีกลับภูมิลำเนาเดิม บ้างก็หนีไปอยู่เมืองไกล แม้ในตอนหลังเมื่อหลวงพลฯ กลับมาจากกรุงเทพฯ แล้วก็ไม่ปรากฏว่าภรรยาคนใดยอมกลับไปอยู่กับหลวงพลฯ อีกเลย

เหมือน ผู้ภรรยาได้พาบุตรชื่ออ่อง อพยพหนีกลับมาอยู่บ้านหนองบัวตามเดิม ครั้นหลวงพลฯ ทราบก็ให้คนตามเพื่อรับตัวกลับ เหมือน เมื่อรู้ข่าวจึงพาบุตรน้อยของตนอพยพหนีไปยังบ้านโคกเดื่อ หลวงพลฯ ก็ให้คนติดตาม จนในที่สุด เหมือนต้องพาบุตรไปอยู่บ้านป่ามีบ้าน ๒-๓ หลังเท่านั้น ต่อมาบ้านที่ว่านี้ได้กลายเป็นบ้านใหญ่เมืองโตเรียกว่าบ้านสายลำโพง ที่บ้านสายลำโพงเหนือมะขามใหญ่อยู่ต้นหนึ่งขณะนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า
“ ต้นมะขามยายเหมือน”ทั้งนี้คงจะเป็นด้วยยายเหมือนได้ปลูกไว้เมื่อหนีมาอยู่ใหม่ๆ ประมาณ ๑๕๐ ปีเศษ
(พ.ศ. ๒๕๔๔) มานี้

สกุลทางบิดา
มีประวัติสังเขปดังนี้ บ้านพนมรอกแต่เดิมมาเป็นป่าดงพงพี เป็นที่อาศัยของสิงห์สาราสัตว์นาๆ
ชนิด ไม่มีบ้านช่องผู้คน คงมีบ้านใหญ่เมืองโตเฉพาะบ้านดอนคา บ้านหนองบัว บ้านหนองกลับ บ้านโคกเดื่อ บ้านเขาทอง เท่านั้น ต่อมาประชาชนพลเมืองบ้านดอนคามีจำนวนมากขึ้น ที่ทำมาหากินก็เริ่มอัตคัด จึงได้มีชาวบ้านดอนคาคนหนึ่งชื่อคงอพยพครอบครัวมาบุกร้างถางพงขึ้นที่เขาพนมรอกเป็นหลังแรกเมื่อประมาณ ๑๗๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๔) มาแล้วสมัยต้นรัชกาลที่ ๔ โดยตั้งบ้านเรือนอยู่เชิงเขาด้านเหนือ(ฝั่งตรงข้ามกับบ้านพนมรอกเดี๋ยวนี้) ขณะนี้เรียกบ้านที่เริ่มต้นนี้ว่า “บ้านฟากเขา” ลุงคงนอกจากจะมาทำไร่ ทำนาแล้วยังทำการจับช้างป่าด้วย ลุงคงอพยพมาได้ไม่นานนักก็กลับไปชักชวนญาติพี่น้องที่บ้านดอนคาให้มาจับจองที่ทำมาหากินที่บ้ายเขาพนมรอกอีกหลายครัวเรือน ในคราวนั้นลุงคงได้ชวนนายมอญ นางจั่น ซึ่งเป็นญาติสนิทให้อพยพตามมาจับจองที่ทำมาหากินยังเขาพนมรอกด้วย (ในสมัยนั้นเรียกว่า เขาสำรอก ต่อมาทางการมาตั้งชื่อเขาพนมเศษ พนมแปรว่าป่าหรือเขา แปรว่าเขาที่เป็นเศษออกไป ในคราวนั้นทางการจึงตั้งที่เขาสำรอกเสียใหม่ว่า พนมรอก โดยใช้คำว่าพนมเช่นเดียวกับพนมเศษ) นับแต่นั้นมาบ้านพนมรอกก็มีบ้านช่องหนาแน่นขึ้นเป็นลำดับ ล้วนแต่อพยพมาจากบ้านดอนคาทั้งสิ้น แต่คงจะเป็นด้วยบ้านพนมรอกฝั่งฟากเขานี้จะเป็นที่ค่อนข้างดอน ชาวบ้านจึงต่างพากันอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณเชิงเขาด้านใต้กันเสียเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นบ้านพนมรอกขณะนี้ นอกจากอพยพไปอยู่ฝั่งเขาด้านใต้ดังกล่าวแล้วบางพวกก็อพยพไปจับจองที่ทำมาหากินตามริมคลองสายลำโพงเป็นแนวยาวตั้งแต่สายลำโพงใต้จนถึงสายลำโพงเหนือ ขณะนั้นสายลำโพงยังเป็นป่าไม่มีบ้านคน ชาวสายลำโพงจึงเป็นเชื้อสายที่แยกมาจากพนมรอกทั้งสิ้น
นายมอญ นางจั่น อนุวัตรนี้ ต่อมาเป็นต้นสกุลทางบิดาของท่านเจ้าคุณนิพันธรรมาจารย์โดย
เป็นปู่และย่า นายมอญ นางจั่น มีบุตร ๓ คน คนโตเป็นหญิงชื่อ พลับ คนกลางเป็นชายชื่อรอด คนสุดท้องเป็นหญิงชื่อ ตุ้ม พลับผู้พี่เมื่อโตขึ้นได้แต่งงานกับนายโต ศรีสงคราม อันเป็นต้นสกุลศรีสงครามมาจนทุกวันนี้
ตุ้ม เมื่อโตขึ้นได้แต่งงานกับนายแช่ม มีบุตรด้วยกัน ๔ คน คือ ๑) นายบด ๒) นางแผ้ว ๓)
นางพลู ๔) นางพี ๕) นางฉัตร รอด เมื่อโตขึ้นได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนขจรคชสาร เมื่ออายุครบบวชได้เข้าอุปสมบท แล้วเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมาย(กฎหมายโบราณ) ที่โคราชขณะที่ยังเป็นพระอยู่ แล้วไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่วัดในกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ อยู่กรุงเทพ ๒ ปี ก็สิกขาบทกลับไปช่วยบิดา มารดาทำมาหากินยังบ้านพนมรอกตามเดิม พออายุย่างเข้า ๒๕ ปี บิดามารดาจึงได้ไปสู่ขอ อ่อง บุตรยายเหมือนที่บ้ายสายลำโพง ได้มาแต่งงานกันตามประเพณี มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านพนมรอกปัจจุบันนี้ รอดและอ่อง อนุวัตร ต่อมาได้เป็นบิดามารดาของท่านเจ้าคุณนิพันธรรมาจารย์.....


ขอขอบคุณ อบต.พนมรอก ที่ให้ข้อมูลดี ๆ ซึ่งหายากมาก ๆ

วัตถุมงคล
1.เหรียญกระไหล่ทอง สร้างปี 2500
2.เหรียญทวิภาคี ย้อนยุค ปี 2530 หลวงพ่อคล้ายนั่งคู่หลวงพ่อเดิม ตอกโค้ด หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ ร่วมปลุกเสก

ขอใช้ภาพแทนนะครับ ผมมีหลายเหรียญ เหมาคนพื้นที่มา ราคานี้ เก็บได้ครับ

ราคาเหรียญละ 300 บาท มีหลายเหรียญ ผมจะจัดส่งองค์ที่สวยที่สุด ใครเช่าบูชาก่อน ได้องค์สวยไปครับ

บูชา : 300 บาท
ข้อมูลการติดต่อ : พันธุ์ทิพย์ วัยนิพลี
093-2480159 ang7kong@gmail.com
จำนวนผู้เปิดชม : 2013 ครั้ง
โพสเมื่อ : 2012-02-22 15:00:27
ปรับปรุงล่าสุด : 2012-02-22 15:11:13
Share ข้อมูล :
สอบถามเกี่ยวกับวัตถุมงคลนี้
ชื่อผู้โพส
E-mail
โทรศัพท์
ข้อความ
Code ยืนยันการโพสโค้ดยืนยันการโพส
ชื่อร้าน : ANTIG 7
โดย : พันธุ์ทิพย์ วัยนิพลี
ที่อยู่ติดต่อ : 491 หมู่ที่ 7 ต.สมอเเข อ.เมือง จ. พิษณุโลก 65000
หมายเลขโทรศัพท์ : 093-2480159
E-Mail ติดต่อ : ang7kong@gmail.com
URL ของร้าน : http://www.antigpra.com/shop/kratiem/
 ธนาคารกสิกรไทย :   สาขา ถนนสายเอเซีย  
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์/สะสมทรัพย์
ชื่อบัญชี : นายอุดร เหลืองวิชชเจริญ  
หมายเลขบัญชี : 4032253429